วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

  ระบบนิเวศในน้ำเค็ม

          
     เป็นแหล่งรวมที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตแบบต่างๆเช่น
        - ระบบนิเวศหาดหิน (rocky shore) ประกอบด้วยชายฝั่งทะเล ซึ่งมีทั้งหาดทรายและหาดหิน      เป็นบริเวณที่จะถูกน้ำทะเลซัดขึ้นมาตลอดเวลา   ฉะนั้นสัตว์ที่อาศัยบริเวณนี้ต้องคงทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ     ได้แก่ แมลงสาบทะเล (ligio) หอยนางรม      ลิ่มทะเล หอยหมวกเจ๊ก (limpets) เพรียงหิน เม่นทะเล ดอกไม้ทะเล     สาหร่ายสีแดง
       -นิเวศหาดทราย (sandy beach) สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระบบนี้ต้องมีการปรับตัวมาก      เพราะคลื่นซัดทรายในสภาพที่รุนแรง เช่น ปูลม เคลื่อนที่ได้รวดเร็ว และมีเหงือกใหญ่ชุ่มชื้นอยู่เสมอ      ทนความแห้งแล้งได้ดี นอกจากนี้ยังมีพวกหอยเสียบ หอยทับทิม ชอบฝังตัวหรือขุดรูอยู่ในทราย
     ระบบนิเวศบริเวณไหล่ทวีป ทะเล มหาสมุทร เป็นแหล่งที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบด้วย      แพลงตอนพืช สัตว์นานาชนิด หญ้าทะเล สาหร่าย กุ้ง หอย ปู ปลา พะยูน โบมา ฯลฯ      โดยสิ่งมีชีวิตดังกล่าวอาศัยเป็นแหล่งอาหารในการเจริญเติบโต ทั้งทะเล และมหาสมุทร      นับเป็นแหล่งอาหารแหล่งใหญ่ที่สุดของสิ่งมีชีวิต
        -ระบบนิเวศแนวปะการัง (coral reef) หรืออุทยานใต้ทะเล      ปะการังสืบพันธุ์ด้วยการแตกหน่อเชื่อมติดกันมีสารหินปูนห่อหุ้มลำตัว กลุ่มก้อนปะการังที่สวยงามมาก ได้แก่      ปะการังเขากวาง ปะการังสมอง ปะการังเห็ด ปะการังต้นไม้ ฯลฯ พบที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา      หมู่เกาะพีพี หมู่เกาะลันตา จ. กระบี่ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง และที่อื่น ๆ อีกมาก      ระบบนิเวศแนวปะการังเป็นแหล่งที่ให้ความอุดมสมบูรณ์ทางด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย แหล่งอนุบาล      ตัวอ่อนของสัตว์น้ำแต่ละชนิด เป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายและให้ผลผลิตสูงมากในทะเล
        - ระบบนิเวศป่าชายเลน (mangrove forest) ประเทศไทยมีป่าชายเลนหลายแหล่ง      แถบจังหวัดชายทะเลในภาคใต้ และภาคตะวันออกเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน้ำกร่อย      มีสภาพแวดล้อมต่างจากป่าบกทั้งสภาพดิน ความเป็นกรด-เบส (pH) ความสมบูรณ์ของดิน (N,P,K)      ทำให้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลนต้องปรับตัวให้ดำรงชีพอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน      ในแต่ละช่วงวัน
         กลุ่มพืชในป่าชายเลนได้แก่ แสม โกงกาง ลำพู มีรากค้ำจุนช่วยในการพยุงลำต้น มีรากหายใจโผล่พ้นดินขึ้นมา      พืชพวกนี้มีใบหนา บางชนิดใบมีขนปกคลุม ใบมีลักษณะอวบน้ำ เพราะมีเนื้อเยื่อกักเก็บน้ำในใบ      และที่สำคัญไม่เหมือนพืชอื่น ๆ คือ ผลของพืชพวกนี้มีเมล็ด ซึ่งงอกตั้งแต่อยู่บนต้นแม่      เมื่อหล่นลงสู่พื้นชายเลนก็จะเจริญได้ทันที เพราะผลเรียวยาวเสียบลงในเลนและตั้งเป็นต้น
     สัตว์ที่อาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลนมีทั้งสัตว์หน้าดิน ได้แก่ หอย ปู ปลาตีน ฯลฯ สัตว์ในดิน และนกจำนวนมาก          ป่าชายเลนเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์อ่อนของสัตว์น้ำ ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศในทะเลมากที่สุด      เพราะเป็นแหล่งที่ตัวอ่อนของสัตว์น้ำพวก กุ้ง หอย ปู ปลา เข้ามาอาศัยร่มเงาและหาอาหาร
     ในด้านนิเวศวิทยา ป่าชายเลนจัดว่าเป็นบริเวณที่มีผลผลิตทางชีวภาพสูง มีสัตว์นานาชนิด      มีพันธุ์ไม้ที่เป็นพืชสมุนไพร ไม้โกงกางใช้เป็นเชื้อเพลิงที่ให้พลังงานสูงมาก      ป่าชายเลนทำให้แผ่นดินงอกเป็นฉากกำบังลม ป้องกันการพังทลายของชายฝั่งรากช่วยกรองกสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ      ในน้ำลดความเน่าเสียของน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นสถานศึกษาหาความรู้และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อยใจ      ปัจจุบันป่าชายเลนมีพื้นที่เหลือไม่ถึง 1,128,494 ไร่เท่านั้น จากที่เคยมีอยู่ถึง 2,229,375      ไร่ชั่วระยะเวลาจากการสำรวจ เมื่อปี พ.ศ. 2504 ถึงปีพ.ศ. 2532

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น