วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554



ระบบนิเวศ


                การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตจะมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อมอาจเป็นความสัมพันธ์ทางบวกหรือทางลบ จะเห็นได้ว่าไม่มีสิ่งมีชีวิตชนิดใดสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยลำพังโดยไม่ต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อม ดังนั้นถ้าสิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในสิ่งแวดล้อมนั้นด้วย  เช่น  การดำรงชีวิตของพืช  สัตว์ และสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำอื่นๆ จะต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันและมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต เช่น แร่ธาตุ แสงแดด มีการใช้พลังงานและแลกเปลี่ยนสารอาหารซึ่งกันและกันเป็นวัฏจักรที่ดำเนินไปเป็นระบบภายใต้ความสมดุลของธรรมชาติ ดังนั้นหากระบบมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นและส่งผลกระทบเกี่ยวเนื่องไปทั้งระบบ และทำให้เกิดปัญหากับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ระบบดังกล่าวเรียกว่าระบบนิเวศซึ่งหมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตทั้งหมดกับสิ่งแวดล้อมที่ดำรงอยู่

นิยามและความหมาย
                ระบบนิเวศ หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในหน่วยพื้นที่หนึ่ง
                จากข้อความดังกล่าวประกอบด้วยประเด็นสำคัญ  4  ประเด็น  คือ
                1. หน่วยพื้นที่ หมายถึง ระบบนิเวศจะถูกจำกัดขอบเขตหรือขนาด  ดังนั้นจะเล็กหรือใหญ่อย่างไรก็ได้  แต่ขอให้มีอาณาบริเวณอย่างเด่นชัด  เช่น  สระน้ำ  อ่างเก็บน้ำ  ป่าไม้  เมือง   ชนบท  เป็นต้น
                2. สิ่งมีชีวิต หมายถึง องค์ประกอบหรือโครงสร้างทั้งหมดที่เป็นสิ่งมีชีวิตภายในหน่วยพื้นที่นั้น
                3. สิ่งแวดล้อม หมายถึง องค์ประกอบทั้งหลายในหน่วยพื้นที่นั้น  ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ต้นไม้  สัตว์  ดิน  น้ำ  อากาศ  สารอาหาร เป็นต้น
                4. ระบบความสัมพันธ์  หมายถึง  ระบบความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตหนึ่งกับสิ่งไม่มีชีวิตและสิ่งมีชีวิตอื่นในหน่วยพื้นที่นั้น  นั่นคือสิ่งต่าง ๆ ภายในพื้นที่นั้นต่างก็มีบทบาทและหน้าที่ของตนเองอย่างชัดเจน  ทำให้สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่จะอยู่ร่วมกันได้  ระบบความสัมพันธ์นี้จะมีกฏเกณฑ์ที่แน่นอนจนสุดท้ายก็จะแสดงเอกลักษณ์ของระบบนั้น ๆ  เช่น ระบบนิเวศลำน้ำน่าน    ระบบนิเวศป่าดิบเขา  ระบบนิเวศหนองน้ำ  เป็นต้น
                ระบบนิเวศหนึ่งๆ เป็นระบบนิเวศ ระบบเปิด เพราะมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอื่นนอกหน่วยพื้นที่ของตนเอง  มีการได้สสาร  พลังงาน แร่ธาตุ  ตลอดจนสิ่งมีชีวิตจากที่อื่นเข้าไปในระบบ  และขณะเดียวกันต้องมีการนำสิ่งเหล่านี้ออกไปจากระบบ  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น ระบบนิเวศหนองน้ำได้สารอาหารมาจากการที่น้ำฝนชะล้างเศษดิน ซากพืชหรือซากสัตว์ไหลลงสู่หนองน้ำนั้น  ขณะเดียวกันก็สูญเสียสารอาหารไปจากระบบอาจจะเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำออกไปตายที่อื่น  สัตว์น้ำถูกจับเป็นอาหารของสัตว์อื่น เช่น นก  มนุษย์ เสือปลา  เป็นต้น  
ระบบนิเวศนบนโลกนี้มีความหลากหลายตามตำแหน่งที่ตั้งซึ่งมีองค์ประกอบทางกายภาพแตกต่างกันออกไปมากมาย เช่น ระบบนิเวศป่าดิบร้อน ระบบนิเวศป่าสน ระบบนิเวศป่ามรสุม ระบบนิเวศ ระบบนิเวศทุ่งน้ำแข็ง ระบบนิเวศทุ่งหญ้าเขตร้อน ระบบนิเวศป่าชายเลน ระบบนิเวศหนองน้ำ ระบบนิเวศน้ำกร่อย ระบบนิเวศน้ำเค็ม ระบบนิเวศชายฝั่ง เป็นต้น  บนโลกนี้เมื่อรวมกันทั้งหมดทุกระบบนิเวศก็จะเป็นระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุดคือ ระบบนิเวศโลก นั่นเอง เรียกว่า  ชีวาลัยหรือชีวมณฑล  (Biosphere หรือ Ecosphere) 

โครงสร้างหรือองค์ประกอบของระบบนิเวศ
                แม้ว่าระบบนิเวศบนโลกจะมีความหลากหลาย    แต่โครงสร้างหรือองค์ประกอบภายในระบบนิเวศ  แต่ละชนิดจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ  2  ส่วน  คือ
                1.  องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต  (Abiotic Components)   จำแนกได้เป็น  3  ส่วน  คือ
                     1.1  อนินทรียสาร  (Inorganic Substance)  เช่น  คาร์บอน  คาร์บอนไดออกไซด์ ฟอสฟอรัส  ไนโตรเจน  น้ำ  ออกซิเจน  ฯลฯ 
                     1.2  อินทรียสาร  (Organic Substance)  เช่น  คาร์โบไฮเดรต  โปรตีน  ไขมัน ฮิวมัส  ฯลฯ
     1.3  สภาพแวดล้อมทางกายภาพ  (Physical Environment)  เช่น  แสง  อุณหภูมิ อากาศ ความชื้น ความเป็นกรดด่าง    ฯลฯ
                2.  องค์ประกอบที่มีชีวิต (Biotic Components) ได้แก่ สิ่งมีชีวิตทุกชนิด จำแนกตามหน้าที่ได้ 3 ชนิด คือ
                     2.1 ผู้ผลิต (Producer) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เอง โดยกระบวนการสังเคราะห์แสง  (Photosynthesis) ได้แก่ พืชสีเขียว แพลงตอนพืช แบคทีเรียบางชนิด ฯลฯ  สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะมีรงควัตถุสีเขียว  คือ  คลอโรฟิลล์ เพื่อรับพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ร่วมกับคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี เกิดเป็นสารประกอบคาร์โบไฮเดรตขึ้น ดังสมการ 



            
 พวกผู้ผลิตจัดว่ามีความสำคัญมากเพราะเป็นส่วนที่เริ่มต้นเชื่อมต่อระหว่างส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิตและส่วนประกอบที่มีชีวิตอื่นๆในระบบนิเวศ โดยการสร้างและสะสมอาหารขึ้นมาจากแร่ธาตุและสารประกอบโมเลกุลเล็ก  รวมทั้งพลังงานจากแสงอาทิตย์ซึ่งสิ่งมีชีวิตพวกอื่น ๆ ในระบบนิเวศไม่สามารถใช้สิ่งเหล่านี้ได้โดยตรงในการเจริญเติบโต
                     2.2  ผู้บริโภค (Consumer) หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารรถสร้างอาหารเองได้ แต่ได้รับอาหารจากการกินสิ่งมีชีวิตอื่น  สิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทเป็นผู้บริโภค  คือ  พวกสัตว์ต่าง ๆ จำแนกเป็น  3  ชนิด  ตามลำดับขั้นการบริโภค  คือ
                                2.2.1  ผู้บริโภคปฐมภูมิ (Primary Consumer)  เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินพืชเป็นอาหารอย่างเดียว  เรียกว่า ผู้บริโภคพืช  (Herbivores)  ได้แก่  กระต่าย  วัว  ควาย  ช้าง  ม้า  ปลาที่กินพืชเล็ก ๆ  ฯลฯ
                            2.2.2  ผู้บริโภคทุติยภูมิ  (Secondary Consumer)  เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินสัตว์ด้วยกันเป็นอาหาร  Carnivores)  เช่น  งู  เสือ  นกฮูก  นกเค้าแมว  จรเข้  ฯลฯ
                            2.2.3  ผู้บริโภคตติยภูมิ  (Tertiary Consumer)  ได้แก่  สิ่งมีชีวิตที่กินทั้งพืช และสัตว์เป็นอาหาร  เรียกว่า  Omnivore  เช่น  คน  หมู  สุนัข  ฯลฯ
            นอกจากนี้ยังอาจมีผู้บริโภคอันดับต่อไปได้อีกตามลำดับขั้นของการบริโภค ผู้บริโภคขั้นสุดท้ายเรียก  ผู้บริโภคขั้นสูงสุด (Top Consumer)  หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระดับขั้นการกินสูงสุด ซึ่งก็คือสัตว์ที่ไม่ถูกกินโดยสัตว์อื่น ๆ ต่อไป เป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสุดท้ายของการถูกกินเป็นอาหาร เช่น มนุษย์ เป็นต้น
                3.  ผู้ย่อยสลาย  (Decomposer)  หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้  แต่จะได้อาหารโดยการสร้างเอนไซม์ออกมาย่อยสลายซากของสิ่งมีชีวิต ของเสีย กากอาหาร ให้เป็นสารที่มีโมเลกุลเล็กลงแล้วจึงดูดซึมไปใช้บางส่วน  ส่วนที่เหลือจะปล่อยออกสู่ระบบนิเวศ ซึ่งผู้ผลิตสามารถนำไปใช้สร้างอาหารต่อไป  สิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทเป็นผู้ย่อยสลายส่วนใหญ่  ได้แก่ แบคทีเรีย เห็ด  รา ฯลฯ สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญอย่างมากในระบบนิเวศเพราะทำให้เกิดการหมุนเวียนของสาร
 
1. ระบบนิเวศบนบก (Terrestrial Ecosystems)  เป็นระบบนิเวศที่ปรากฏอยู่บนพื้นดินซึ่งแตกต่างกันไปโดยใช้ลักษณะเด่นของพืชเป็นหลักแบ่ง  ซึ่งขึ้นกับปัจจัยสำคัญ  2  ประการ คือ อุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน  ทำให้พืชพรรณต่างๆ แตกต่างกัน   ระบบนิเวศบนบกนั้นพอแบ่งออกได้ดังนี้
                 1.1 ระบบนิเวศป่าไม้  (Forest Ecosystem)  เป็นระบบนิเวศที่พื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมไปด้วยป่าไม้  สามารถแบ่งย่อยออกไปได้ดังนี้
1) ระบบนิเวศป่าไม้เขตร้อน  ได้แก่ ระบบนิเวศป่าเบญจพรรณ  ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา  เป็นต้น
2) ระบบนิเวศป่าไม้เขตอบอุ่น  ได้แก่ ระบบนิเวศป่าผลัดใบเขตอบอุ่น  ป่าเมดิเตอร์เรเนียน
3) ระบบนิเวศป่าไม้เขตหนาว ได้แก่ระบบนิเวศป่าสน
4)  ระบบนิเวศป่าชายฝั่ง (ป่าชายเลน  ป่าชายหาด  ป่าโขดหิน)
                1.2 ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้า (Grassland Ecosystem)  เป็นระบบนิเวศที่มีพืชตระกูลหญ้าเป็นพืชเด่น  แบ่งได้ดังนี้
 1) ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้าเขตร้อน  ได้แก่ ระบบนิเวศทุ่งหญ้าซาวันนา  โดยมีทุ่งหญ้าที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลกที่รูจักกันในนามทุ่งหญ้าซาฟารี
2) ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น  ได้แก่ ระบบนิเวศทุ่งหญ้าแพรรี่, ทุ่งหญ้าสเตปป์
3) ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้าเขตหนาว  ทุ่งหญ้าทุนดรา
                1.3  ระบบนิเวศน์ทะเลทราย (Desert Ecosystem)    เป็นพื้นที่ที่มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าปริมาณการระเหยน้ำ  แต่บางพื้นที่อาจมีฝนตกบ้างเล็กน้อยก็จะมีหญ้าเขตแห้งแล้งงอกงามได้  ได้แก่
1) ระบบนิเวศน์ทะเลทรายเขตร้อน   ทะเลทรายเขตอบอุ่น
2) ระบบนิเวศนทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายเขตร้อน ทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายเขตร้อน
ป่าชายเลนมีบทบาทสำคัญ ที่เป็นส่วนเชื่อมของระบบนิเวศบนบก และระบบนิเวศทางทะเล โดยป่าชายเลนทำหน้าที่หลักที่สำคัญสองประการ ในส่วนที่ควบคุมปฏิสัมพันธ์ภายใต้กระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในทะเล ในแม่น้ำ และบนบก คือ
1. ป่าชายเลนทำหน้าที่ในการดักตะกอน ที่ถูกพัดพามากับน้ำจืด ในการถูกพัดพาออกสู่ทะเลให้น้อยลง ช่วยลดผลกระทบต่อการสังเคราะห์แสงของพืช และผลผลิตทางการประมง
2. ป่าชายเลนทำหน้าที่ในการส่งถ่ายธาตุอาหารและอินทรีย์สารจากบริเวณป่าชายเลน ออกสู่น้ำทะเลชายฝั่งบริเวณใกล้เคียง เป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่บริเวณชายฝั่งด้วย
การที่ป่าชายเลนขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลและปากแม่น้ำต่างๆ ช่วยลดความเร่งของกระแสน้ำทำให้มีตะกอนทับถมในลักษณะของแผ่นดินงอก อาจกล่าวได้ว่า ป่าลายเลนช่วยเพิ่มพื้นที่ (land builder) พร้อมกันนี้ป่าชายเลนยังทำหน้าที่ดักกรองสารมลพิษ และสารปฏิกูลต่างๆ จากบนบก ไม่ให้ลงสู่ทะเล (pollution trap) ป่าชายเลนยังทำหน้าที่เป็นแนวป้องกันคลื่นลมจากทะเล ช่วยลดความรุนแรงของพายุได้อีกด้วย
คุณค่าของป่าชายเลน นอกเหนือจากการใช้ประโยชน์จากไม้ชายเลนเพื่อการเผาถ่าน และการใช้ประโยชน์ในรูปอื่นๆ ที่สำคัญคือ ป่าชายเลนเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์หลายชนิด ทั้งที่เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ และปลาที่สำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิด ป่าชายเลนยังเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งวางไข่ และอนุบาลตัวอ่อน
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริเวณป่าชายเลนอุดมสมบูรณ์ ด้วยพืชและสัตว์นานาชนิด คือ ความอุดมสมบูรณ์ของอาหาร มีการแบ่งสรรสารอาหารและพลังงานที่ลงตัวในกลุ่มพืชและสัตว์ บริเวณป่าชายเลนมีความหลากหลายในรูปของแหล่งที่อยู่อาศัยทำให้สัตว์ต้องมีการปรับตัวเฉพาะเพื่ออยู่อาศัย หรือเพื่อหาอาหารได้ร่วมกันโดยไม่แก่งแย่งกัน ถ้าความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนยังคงสภาพอยู่ ก็ย่อมส่งผลถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำด้วย
การศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลน จะต้องศึกษาในรายละเอียดของชนิดพรรณไม้ การแพร่กระจาย การแบ่งเขต (zonation) ลักษณะทางกายภาพของดิน สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ดิน คุณภาพของน้ำทะเล สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในมวลน้ำ รูปแบบของนำขึ้น-น้ำลง ตลอดจนกระบวนการทางนิเวศวิทยาที่เกี่ยวข้อง เช่น การหมุนเวียนของธาตุอาหาร การย่อยสลายสารอินทรีย์ การอพยพของสัตว์น้ำ เป็นต้น
  ระบบนิเวศในน้ำเค็ม

          
     เป็นแหล่งรวมที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตแบบต่างๆเช่น
        - ระบบนิเวศหาดหิน (rocky shore) ประกอบด้วยชายฝั่งทะเล ซึ่งมีทั้งหาดทรายและหาดหิน      เป็นบริเวณที่จะถูกน้ำทะเลซัดขึ้นมาตลอดเวลา   ฉะนั้นสัตว์ที่อาศัยบริเวณนี้ต้องคงทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ     ได้แก่ แมลงสาบทะเล (ligio) หอยนางรม      ลิ่มทะเล หอยหมวกเจ๊ก (limpets) เพรียงหิน เม่นทะเล ดอกไม้ทะเล     สาหร่ายสีแดง
       -นิเวศหาดทราย (sandy beach) สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระบบนี้ต้องมีการปรับตัวมาก      เพราะคลื่นซัดทรายในสภาพที่รุนแรง เช่น ปูลม เคลื่อนที่ได้รวดเร็ว และมีเหงือกใหญ่ชุ่มชื้นอยู่เสมอ      ทนความแห้งแล้งได้ดี นอกจากนี้ยังมีพวกหอยเสียบ หอยทับทิม ชอบฝังตัวหรือขุดรูอยู่ในทราย
     ระบบนิเวศบริเวณไหล่ทวีป ทะเล มหาสมุทร เป็นแหล่งที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบด้วย      แพลงตอนพืช สัตว์นานาชนิด หญ้าทะเล สาหร่าย กุ้ง หอย ปู ปลา พะยูน โบมา ฯลฯ      โดยสิ่งมีชีวิตดังกล่าวอาศัยเป็นแหล่งอาหารในการเจริญเติบโต ทั้งทะเล และมหาสมุทร      นับเป็นแหล่งอาหารแหล่งใหญ่ที่สุดของสิ่งมีชีวิต
        -ระบบนิเวศแนวปะการัง (coral reef) หรืออุทยานใต้ทะเล      ปะการังสืบพันธุ์ด้วยการแตกหน่อเชื่อมติดกันมีสารหินปูนห่อหุ้มลำตัว กลุ่มก้อนปะการังที่สวยงามมาก ได้แก่      ปะการังเขากวาง ปะการังสมอง ปะการังเห็ด ปะการังต้นไม้ ฯลฯ พบที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา      หมู่เกาะพีพี หมู่เกาะลันตา จ. กระบี่ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง และที่อื่น ๆ อีกมาก      ระบบนิเวศแนวปะการังเป็นแหล่งที่ให้ความอุดมสมบูรณ์ทางด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย แหล่งอนุบาล      ตัวอ่อนของสัตว์น้ำแต่ละชนิด เป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายและให้ผลผลิตสูงมากในทะเล
        - ระบบนิเวศป่าชายเลน (mangrove forest) ประเทศไทยมีป่าชายเลนหลายแหล่ง      แถบจังหวัดชายทะเลในภาคใต้ และภาคตะวันออกเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน้ำกร่อย      มีสภาพแวดล้อมต่างจากป่าบกทั้งสภาพดิน ความเป็นกรด-เบส (pH) ความสมบูรณ์ของดิน (N,P,K)      ทำให้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลนต้องปรับตัวให้ดำรงชีพอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน      ในแต่ละช่วงวัน
         กลุ่มพืชในป่าชายเลนได้แก่ แสม โกงกาง ลำพู มีรากค้ำจุนช่วยในการพยุงลำต้น มีรากหายใจโผล่พ้นดินขึ้นมา      พืชพวกนี้มีใบหนา บางชนิดใบมีขนปกคลุม ใบมีลักษณะอวบน้ำ เพราะมีเนื้อเยื่อกักเก็บน้ำในใบ      และที่สำคัญไม่เหมือนพืชอื่น ๆ คือ ผลของพืชพวกนี้มีเมล็ด ซึ่งงอกตั้งแต่อยู่บนต้นแม่      เมื่อหล่นลงสู่พื้นชายเลนก็จะเจริญได้ทันที เพราะผลเรียวยาวเสียบลงในเลนและตั้งเป็นต้น
     สัตว์ที่อาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลนมีทั้งสัตว์หน้าดิน ได้แก่ หอย ปู ปลาตีน ฯลฯ สัตว์ในดิน และนกจำนวนมาก          ป่าชายเลนเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์อ่อนของสัตว์น้ำ ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศในทะเลมากที่สุด      เพราะเป็นแหล่งที่ตัวอ่อนของสัตว์น้ำพวก กุ้ง หอย ปู ปลา เข้ามาอาศัยร่มเงาและหาอาหาร
     ในด้านนิเวศวิทยา ป่าชายเลนจัดว่าเป็นบริเวณที่มีผลผลิตทางชีวภาพสูง มีสัตว์นานาชนิด      มีพันธุ์ไม้ที่เป็นพืชสมุนไพร ไม้โกงกางใช้เป็นเชื้อเพลิงที่ให้พลังงานสูงมาก      ป่าชายเลนทำให้แผ่นดินงอกเป็นฉากกำบังลม ป้องกันการพังทลายของชายฝั่งรากช่วยกรองกสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ      ในน้ำลดความเน่าเสียของน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นสถานศึกษาหาความรู้และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อยใจ      ปัจจุบันป่าชายเลนมีพื้นที่เหลือไม่ถึง 1,128,494 ไร่เท่านั้น จากที่เคยมีอยู่ถึง 2,229,375      ไร่ชั่วระยะเวลาจากการสำรวจ เมื่อปี พ.ศ. 2504 ถึงปีพ.ศ. 2532
  ระบบนิเวศ
กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันในแหล่งที่อยู่แต่ละแห่งนั้น นอกจากจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทั้งในลักษณะที่พึ่งพาอาศัยกันในรูปแบบต่างๆ และการแก่งแย่งแข่นขันกัน ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ทางชีวภาพแล้ว กลุ่มสิ่งมีชีวิตยังมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของแหล่งที่อยู่ ซึ่งเป็นสภาพทางกายภาพ ได้แก่ ดิน น้ำ แร่ธาตุ แสงสว่าง และอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ทั้งหมดประกอบเป็นระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ หมายถึง หน่วยของความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่แหล่งใดแหล่งหนึ่งความสัมพันธ์นี้มี 2 ลักษณะ คือ ความเกี่ยวข้อสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต ที่แวดล้อมอยู่ และในขณะเดียวกันก็จะมีความสัมพันธ์อีกลักษณะหนึ่งคือ ความเกี่ยวโยงพึ่งหากันหรือการส่งผลต่อกัน ระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกันเองความสัมพันธ์ทั้งสองลักษณะดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน และมีอยู่ในระบบนิเวศทุกระบบ แสดงว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหลายไม่อาจอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยว โดยปราศจากการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่นๆ ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันที่กล่าวนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่ทำให้บรรดาชีวิตทั้งหลายอยู่รอดได้ ชีวิตหนึ่งจะอยู่ได้ก็ต่อเมื่อมีชีวิตอื่นๆ และองค์ประกอบอื่นๆ อยู่ด้วยระบบนิเวศมีอยู่ทุกหนทุกแห่งในโลกมากมายหลายระบบ แม้แต่เศษกระถางแตกที่มีน้ำขังภายในเล็กน้อยก็จะมีตะไคร่น้ำ มีลูกน้ำ หรือไรน้ำเพียง 2-3 ตัว ก็เป็นระบบนิเวศได้ ในทำนองเดียวกัน แอ่งน้ำ หนองน้ำ กลางทุ่ง ทะเลสาบ ป่า มหาสมุทร ต่างก็เป็นระบบนิเวศ โลกทั้งโลกซึ่งเป็นที่รวมระบบนิเวศทั้งมวลก็เป็นระบบนิเวศใหญ่ที่เรียกว่า โลกของสิ่งมีชีวิต (biosphere)

ระบบนิเวศทางทะเล

ระบบนิเวศทะเล : ระบบนิเวศทะเลนี้จะประกอบด้วยชายฝั่งทะเลซึ่งมีทั้งหาดหินและหาดทราย ชายหาดเป็นบริเวณที่ถูกน้ำทะเลซัดมาตลอดเวลา พื้นผิวของหาดทรายและหาดหินจะเปียกและแห้งสลับกัน ในช่วงวันหนึ่งๆ ที่เป็นเวลาน้ำขึ้นน้ำลง ทำให้อุณหภูมิช่วงวันหนึ่งๆ ของบริเวณดังกล่าวแตกต่างกันไปด้วย นอกจากนี้น้ำทะเลมีสารประกอบพวกเกลือละลายอยู่หลายชนิด

สัตว์ที่อาจอาศัยอยู่ในทะเลต้องมีการปรับสภาพทางสรีระสำหรับการดำรงชีพอยู่ในน้ำเค็มด้วย จากชายฝั่งออกไปจะเป็นบริเวณไหล่ทวีป ทะเล และมหาสมุทร ซึ่งเป็นแหล่งที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่จำนวนมาก นับเป็นแหล่งอาหารใหญ่ที่สุดของสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วย แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์นานาชนิด หญ้าทะเล สาหร่ายทะเล ที่สัตว์น้ำพวก กุ้ง หอย ปลา พะยูน โลมา และอื่นๆ ใช้เป็นอาหารในการเจริญเติบโต ใต้ท้องทะเลจะมีบริเวณแนวปะการัง หรืออาจเรียกว่าป่าใต้ทะเล ที่เทียบได้กับป่าบนบก แนวปะการังเกิดจากสัตว์พวกปะการังซึ่งมีสารหินปูนห่อหุ้มลำตัว สืบพันธุ์แบบแตกหน่อเชื่อมติดกันกับตัวเดิมทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของปะการัง ซึ่งแต่ละปีใช้เวลาสร้างได้เพียงไม่กี่นิ้ว บริเวณดังกล่าวมีความสำคัญมาก

********************************************
ระบบนิเวศป่าชายเลน

ระบบนิเวศป่าชายเลน : ป่าชายเลนเป็นป่าบริเวณชายฝั่งทะเลและปากแม่น้ำของประเทศเขตร้อน ประเทศไทยมีป่าชายเลนหลายแห่งแถบจังหวัดชายทะเล ในภาคใต้และภาคตะวันออก

ป่าชายเลนมีสภาพแวดล้อมที่ต่างจากป่าบกหลายอย่าง ได้แก่ สภาพดิน ดินบริเวณนี้เป็นดินเลนที่เกิดขึ้นจากการทับถมของตะกอนบริเวณปากแม่น้ำ ความแตกต่างของความเป็นกรด-เบส ความสมบูรณ์ของดินบริเวณป่าชายเลน วัดได้จากปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างของระดับน้ำทะเลในช่วงต่างๆ ของแต่ละวันด้วย สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงของวัน

กลุ่มพืชในป่าชายเลนจะแบ่งเป็นบริเวณ จากริมน้ำเข้ามาขางใน จะเห็นว่าพันธุ์ไม้เริ่มจาก แสม โกงกาง ลำพู ลักษณะของต้นไม้ในป่าชายเลนมักมีรากค้ำจุน ช่วยในการพยุงลำต้น มีรากอากาศโผล่พ้นดินขึ้นมา พืชพวกหนี้มีใบหนา บางชนิดมีขนปกคลุม นอกจากนี้ยังมีเยื่อกักเก็บน้ำในใบ ทำให้มีลักษณะอวบน้ำ ผลของพืชพวกนี้มีเมล็ดซึ่งงอกตั้งแต่อยู่บนต้นแม่ เมื่อหล่นสู่พื้นป่าชายเลน ก็เจริญได้ทันที

สัตว์ที่อาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลนมีทั้งสัตว์หน้าดิน สัตว์ในดินและมีนกจำนวนมาก ป่าชายเลนเป็นแหล่งที่ตัวอ่อนของพวกสัตว์น้ำพวก กุ้ง หอย ปู ปลา เข้ามาอาศัยร่มเงาและหากินอาหาร ป่าชายเลนจึงเป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์น้ำ มีความสำคัญต่อระบบนิเวศในทะเลมากที่สุด

ในด้านนิเวศวิทยา ป่าชายเลนเป็นป่าที่ให้ผลผลิตหลายอย่าง เช่น พันธุ์ไม้ต่างๆ ที่เป็นสมุนไพร ไม้โกงกาง ใช้เป็นเชื้อเพลิงที่ให้พลังงานสูงมาก เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ทำให้แผ่นดินงอก เป็นฉากกำบังลม ป้องกันการชะล้างที่รุนแรงที่อาจเกิดจากลมมรสุม ป่าชายเลนเป็นเสมือนกำแพงป้องกันการพังทลายของชายฝั่งเป็นอย่างดี รากของพันธุ์ไม้ในป่าชายเลยยังช่วยกรองสิ่งปฏิกูลต่างๆ ในน้ำ เป็นการลดปัญหาการเน่าเสียของน้ำ นอกจากนี้ป่าชายเลนยังเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้และพักผ่อนหย่อนใจได้ดีอีกด้วย

ปัจจุบันป่าชายเลนได้ถูกบุกรุกและมีการตัดไม้เกินกำลังของป่า เพื่อนำมาเผาถ่าน การเปลี่ยนแปลงสภาพป่าไปเป็นนากุ้ง ทำเหมืองแร่ ทำนาเกลือ โรงงานอุตสาหกรรม สร้างท่าเรือ แพปลา เป็นที่อยู่อาศัย บางแห่งทำถนนตัดผ่านเนื้อที่ป่าทำให้ป่าเสื่อมโทรม บางแห่งหมดสภาพที่จะกลับมาเป็นป่าชายเลนอีก

********************************************
ระบบนิเวศป่าไม้

ระบบนิเวศป่าไม้ : ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญยิ่งของประเทศ เป็นแหล่งรวมพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าชนิดต่างๆ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ช่วยควบคุมอุณหภูมิ ผลิตก๊าซออกซิเจน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้ฝนตกตามฤดูกาล ช่วยกำบังลมพายุ ลดความรุนแรงของน้ำป่า และการพังทลายของหน้าดินที่เกิดจากกระแสน้ำไหลบ่า ช่วยรักษาความชุ่มชื้นของผิวดินและอากาศ ตลอดจนเป็นแหล่งสะสมปุ๋ยธรรมชาติ

ระบบนิเวศต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ เป็นระบบที่กว้างใหญ่ ยังมีระบบนิเวศแคบๆ เฉพาะเจาะจง ที่มีองค์ประกอบทางกายภาพและสังคมของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันไป เช่น ระบบนิเวศนาข้าว ระบบนิเวศขอนไม้ผุ ระบบนิเวศริมกำแพง ระบบนิเวศบนต้นไม้ ฯลฯ
  

ระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ

วันที่โพส 6 ต.ค. 2552 โพสโดย ทีมงานทรูปลูกปัญญา


ระบบนิเวศ  หมายถึง  ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่อาศัย ณ ที่ใดที่หนึ่ง  ความสัมพันธ์มี 2 ลักษณะ   คือ  ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต  และระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง  โดยมีการถ่ายทอดพลังงานและสารอาหารในบริเวณนั้น ๆ สู่สิ่งแวดล้อม 

สิ่งแวดล้อมอาจแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท
     1. สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environment)  หรือปัจจัยทางกายภาพ  (Physical Factor)  ได้แก่  แสงสว่าง  อุณหภูมิ  น้ำและความชื้น  กระแสลม  อากาศ  ความเค็ม  ความเป็นกรด-เบส  แร่ธาตุ  ไฟแก๊ส
     2. สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต  (Biotic Environment)  หรือปัจจัยทางชีวภาพ (Biotic Factor)

ไบโอม  แบ่งเป็น 2 ประเภท  คือ
1. ไบโอมบนบก
   ไบโอมบนบก (Terrestrial biomes)  ใช้เกณฑ์ปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิเป็นตัวกำหนด  ไบโอมบนบกที่สำคัญ  ได้แก่  ไบโอมป่าดิบชื้น  ไบโอมป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น  ใบโอมทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น  ไบโอมสะวันนา  ไบโอมป่าสน  ไบโอมทะเลทราย  ไบโอมทุนดรา  เช่น
       • ป่าดิบชื้น  (Tropical rain forest)
         พบได้ในบริเวณใกล้เขตเส้นศูนย์สูตรของโลกในทวีปอเมริกากลาง  ทวีปอเมริกาเอเชียตอนใต้  และบริเวณบางส่วนของหมู่เกาะแปซิฟิก  ลักษณะของภูมิอากาศร้อนและชื้น  มีฝนตกตลอดปี  ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 200 – 400 เซนติเมตรต่อปี  ในป่าชนิดนี้พบพืชและสัตว์หลากหลายพันสปีชีส์  เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงมาก
       • ป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น (Temperate deciduous forest)
         พบกระจายทั่วไปในละติจูดกลาง  ซึ่งมีปริมาณความชื้นเพียงพอที่ต้นไม้ใหญ่จะเจริญเติบโตได้ดี  โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 100 เซนติเมตรต่อปี  และมีอากาศค่อนข้างเย็น  ในป่าชนิดนี้และต้นไม้จะทิ้งใบหรือผลัดใบก่อนฤดูหนาว  และจะเริ่มผลิใบอีกครั้งเมื่อฤดูหนาวผ่านพ้นไปแล้ว  ต้นไม้ที่พบมีหลากหลายทั้งไม้ยืนต้น  ไม้พุ่ม  รวมถึงไม้ล้มลุก
       • ป่าสน (Coniferous forest)
       • ป่าไทกา (Taiga)  และป่าบอเรียล (Boreal)  เป็นป่าประเภทเขียวชอุ่มตลอดปร  พบได้ทางตอนใต้ของประเทศแคนนาดา  ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ  ทวีปเอเชียและยุโรป  ในเขตละติจูดตั้งแต่ 45 – 67 องศาเหนือ  ลักษณะของภูมิดากาศมีฤดูหนาวค่อนข้างยาวนาน  อากาศเย็นและแห้ง  พืชเด่นที่พบได้แก่  พืชจำพวกสน เช่น ไพน์ (Pine)  เฟอ (Fir)  สพรูซ (Spruce)  และเฮมลอค  เป็นต้น
       • ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น (Temperate grassland) หรือที่รู้จักกันในชื่อทุ่งหญ้าแพรี่ (Prairie)  ในตอนกลางของทวีปอเมริกาเหนือและทุ่งหญ้า  สเตปส์ (Steppes) ของประเทศรัสเซีย  สภาพภูมิอากาศมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 25 – 50 เซนติเมตรต่อปี  ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่นนี้เหมาะสำหรับการทำกสิกรและปศุสัตว์  เพราะดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงมีหญ้านานาชนิดขึ้นอยู่  ส่วนใหญ่พบมีการทำเกษตรกรรมควบคู่ในพื้นที่นี่ด้วย
       • สะวันนา (Savanna) เป็นทุ่งหญ้าที่พบได้ในทวีปแอฟริกาและพบบ้างทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย  ลักษณะของภูมิอากาศร้อน  พืชที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นหญ้าและมีต้นไม้กระจายเป็นหย่อม ๆ  ในฤดูร้อนมักเกิดไฟป่า
       • ทะเลทราย (Desert) พบได้ทั่วไปในโลก  ในพื้นที่มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยน้อยกว่า 25 เซนติเมตรต่อปี  ทะเลทรายบางแห่งร้อนมากมีอุณหภูมิเหนือผิวดินสูงถึง 60 องศาเซลเซียสตลอดวัน  บางวันแห่งมีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น  พืชที่พบในไบโอมทะเลทรายนี้มีการป้องกันการสูญเสียน้ำ  โดยใบลดรูปเป็นหนาม  ลำต้นอวบ  เก็บสะสมน้ำดี  ทะเลทรายที่รู้จักกันโดยทั่วไป  ได้แก่  ทะเลทรายซาฮารา (Sahara)  ในทวีปแอฟริกา  ทะเลทรายโกบี (Gobi)  ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและทะเลทรายโมฮาวี (Mojave)  ในรัฐแคลิฟอร์เนีย  ประเทศสหรัฐอเมริกา
       • ทุนดรา (Tundra) เป็นเขตที่มีฤดูหนาวค่อนข้างยาวนาน  ฤดูร้อนช่วงสั้น ๆ  ลักษณะเด่นคือ  ชั้นของดินที่อยู่ต่ำกว่าจากผิวดินชั้นบนลงไปจะจับตัวเป็นน้ำแข็งถาวร  ทุนดราพบเพียงตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ  และยูเรเซีย  พบพพืชและสัตว์อาศัยอยู่น้อยชนิด  ปริมาณฝนน้อยในฤดูร้อนช่วงสั้น ๆ น้ำแข็งที่ผิวหน้าดินละลาย  แต่เนื่องจากน้ำไม่สามารถซึมผ่านลงไปในชั้นน้ำแข็งได้ในระยะสั้น ๆ  พืชที่พบจะเป็นพวกไม้ดอกและไม้พุ่ม  นอกจากนี้ยังพบสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ  เช่น  ไลเคนด้วย

2. ไบโอมในน้ำ
    ไบโอมในน้ำที่พบเป็นองค์ประกอบหลักใบไบโอสเฟียร์ประกอบด้วย  ไบโอมแหล่งน้ำจืด (Freshwater biomes)  และไบโอมแหล่งน้ำเค็ม (Marine Biomes)  และพบกระจายอยู่ทั้งเขตภูมิศาสตร์ในโลกนี้
    • ไบโอมแหล่งน้ำจืด (Freshwater biomes) โดยทั่วไปประกอบด้วยแหล่งน้ำนิ่งซึ่งได้แก่  ทะเลสาบ  สระ  หนอง  หรือบึง  กับแหล่งน้ำไหล  ได้แก่  ธารน้ำไหลและแม่น้ำ  เป็นต้น
    • ไบโอมแหล่งน้ำเค็ม (Marine biomes) โดยทั่วไปประกอบด้วยแหล่งน้ำเค็ม  ซึ่งได้แก่  ทะเลและมหาสมุทร  ซึ่งพบได้ในปริมาณมากถึงร้อยละ 71 ของพื้นที่ผิวโลก  และมีความลึกมากโดยเฉลี่ยถึง 3,750 เมตร  ไบโอมแหล่งน้ำเค็มจะแตกต่างจากน้ำจืดตรงที่มีน้ำขึ้นน้ำลงเป็นปัจจัยกายภาพสำคัญ  นอกจากนี้ยังพบช่วงรอยต่อของแหล่งน้ำจืดกับน้ำเค็มที่มาบรรจบกัน  และเกิดเป็นแหล่งน้ำกร่อยซึ่งมักพบบริเวณปากแม่น้ำ


ความหลากหลายในระบบนิเวศ
    ระบบนิเวศประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตนานาชนิดและรูปแบบต่างกัน  ไม่ว่าจะเป็นพืช  สัตว์  จุลินทรีย์ที่อยู่รวมกันบริเวณใดบริเวณหนึ่ง  โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมรอบ ๆ ตัวได้  การปรับตัวเปลี่ยนแปลงบางอย่างของสิ่งมีชีวิตอาจเกิดขึ้นภายในหนึ่งชั่วอายุหรือยาวนานหลายชั่วอายุ  โดยผ่านการคัดเลือกตามธรรมชาติ  ตามกระบวนการวิวัฒนาการ  คุณสมบัติและความสามารถของสิ่งมีชีวิต  สิ่งมีชีวิตและสภาวะแวดล้อมต่างก็มีบทบาทร่วมกัน  และมีปฏิกิริยาต่อกันและกันอย่างซับซ้อนในระบบนิเวศที่สมดุล  โครงสร้างและคุณสมบัติของระบบนิเวศเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ รวมทั้งมนุษย์อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล  เมื่อความเจริญและอารยธรรมของมนุษย์ได้มาถึงจุดสุดยอดและเริ่มเสื่อมลงเพราะมนุษย์เริ่มทำลายสิ่งมีชิตชนิดอื่นที่เคยช่วยเหลือสนับสนุนตนเองมาโดยตลอด  ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร  ที่อยู่อาศัย  เครื่องนุ่งห่ม  ยารักษาโรค  หรือการแสวงหาความสุขและความบันเทิงบนความทุกข์ยากของสิ่งมีชีวิตอื่น  จนทำให้เกิดการเสียสมดุลของระบบนิเวศ  ซึ่งนำไปสู่ความเสียหายอย่างใหญ่หลวงของสรรพสิ่งทั้งมวล
    การที่สิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ถูกทำลายสูญหายไปจากโลก  จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเร่งให้อัตราการสูญพันธ์ของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เหลืออยู่เพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ  อันเนื่องมาจากการเสียดุลของระบบนิเวศนั้นเอง  อัตราการสูญพันธุ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละระบบนิเวศ  จะมีทางเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดหรือไม่ที่มนุษย์จะนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการปรับปรุงหาสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นมาทดแทนสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไป  ทั้งนี้เพราะการสูญเสียแหล่งสะสมความแปรผันทางพันธุกรรม  อันถือว่าเป็นขุมทรัพย์ล้ำค่าของประชากรสิ่งมีชีวิต  นั้นจะเป็นการส่งเสริมให้มีการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศนั้น ๆ มากขึ้น


ระบบนิเวศแบบต่าง ๆ
    ระบบนิเวศ  แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 แบบ  คือ  ระบบนิเวศบนบกและระบบนิเวศในน้ำ  ระบบนิเวศแบบต่างในที่นี้จะกล่าวถึงระบบนิเวศ 4 แบบ  เท่านั้น  คือ
     1. ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด
     2. ระบบนิเวศในทะเล
     3. ระบบนิเวศป่าชายเลน
     4. ระบบนิเวศป่าไม้

ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด
ความสำคัญ
เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำและพืชน้ำ  เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ  เป็นแหล่งที่ให้น้ำในการอุปโภค  บริโภค  และทำการเกษตร ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำจืด พืช  เช่น  จอก  สาหร่าย  แหน  เป็นต้น สัตว์  เช่น  หอย  ปลาต่าง ๆ  กุ้ง เป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงชีพ
     • ปัจจัยต่าง ๆ ตามธรรมชาติ  ได้แก่  แสง  อุณหภูมิ  ปริมาณก๊าซออกซิเจน  ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ปริมาณแร่ธาตุ  ความขุ่นในของน้ำ
     • ปัจจัยทางชีวภาพ  ได้แก่  ชนิดและปริมาณของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด
     • ปัจจัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์  ได้แก่  การใช้ยาฆ่าแมลง  ซึ่งเมื่อชะล้างลงสู่แหล่งน้ำจะไปทำลายสิ่งมีชีวิตในน้ำ  น้ำบางชนิดทำให้มีผลกระทบต่อการถ่ายทอดพลังงานและสมดุลทางธรรมชาติในแหล่งน้ำ
สิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ
     • ผู้ผลิต  ได้แก่  พืชต่าง ๆ ซึ่งในแหล่งน้ำมีทั้งที่เป็นพวกแพลงก์ตอน (Plankton)  สาหร่ายต่าง ๆ  เฟิร์น  และพืชดอก
     • ผู้บริโภค  ได้แก่  พวกแพลงก์ตอนสัตว์  แมลงต่าง ๆ และสัตว์พวกกินซากอินทรีย์
     • ผู้ย่อยสลาย  มีทั้งพวกแบคทีเรีย  เห็ด  รา

ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด 
มี 2 ระบบ  คือ ชุมชนในแหล่งน้ำนิ่ง และชุมชนในแหล่งน้ำไหล การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตในชุมชนแหล่งน้ำไหลแรง 
มีโครงสร้างสำหรับเกาะหรือดูดติดกับพื้นผิวอย่างมั่นคง  สามารถสกัดเมืองเหนียวใช้ยึดเกาะ  เช่น  หอยมีรูปร่างเพรียว  เพื่อลดความต้านทานของกระแสน้ำ  มีรูปร่างแบนราบไปกับพื้นที่ผิวที่เกาะชอบว่ายทวนน้ำอยู่เสมอ  เกาะติดกับพื้นผิวหรือซุกซ่อนตัวตามวัตถุใต้น้ำ

ระบบนิเวศในทะเล
ความสำคัญ
     • เป็นแหล่งทรัยากรธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด
     • สิ่งมีชีวิตในทะเล ได้แก่ แพลงก์ตอน  มีทั้งแพลงก์ตอนพืชและสัตว์  เช่น  ไดอะตอม  กุ้งเคย  ตัวอ่อนของเพรียงหิน  และยังมีพวกสาหร่าย  เช่น  สาหร่ายสีเขียว  สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สิ่งมีชีวิตหน้าดินพบอยู่ทั่วไป  เช่น  ฟองน้ำ  ปะการัง  เพรียงหิน  หอยนางรม  ดอกไม้ทะเล  ปลิงทะเล  ดาวทะเล  หอยแครง  พลับพลึงทะเล
ระบบนิเวศในทะเล มี 3 ชุมน
     • ชุมชนหาดทราย  เป็นบริเวณที่ไม่เหมาะกับการอาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเลทั่วไป  เพราะมีสภาพแวดล้อมที่รุนแรง
     • ชุมชนหาดหิน  เป็นบริเวณที่ประกอบไปด้วยหินเป็นส่วนใหญ่
     • ชุมชนแนวปะการัง  ประกอบด้วยปะการังหลายชนิด  มีรูปร่างต่าง ๆ กัน

ระบบนิเวศป่าชายเลน
ความสำคัญ
     • เป็นแหล่งอาศัยของและขยายพันธุ์สัตว์น้ำเป็นตัวกลางทำให้เกิดความสมดุลระหว่างทะเลกับบก  เป็นแหล่งพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจหลายอย่าง
     • เป็นแหล่งอาการที่มีความอุดมสมบูรณ์
     • เป็นฉากกำบังลม  ป้องกันการชะล้างที่รุนแรงที่เกิดจากลมมรสุมและเป็นเสมือนกำแพงป้องกันการพังทลายของดิน
     • รากพันธุ์ไม้ช่วยกรองสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ในน้ำ
ลักษณะของป่าชายเลน
ป่าชายเลนเกิดจากการทับถมของตะกอนบริเวณปากแม่น้ำ  ประกอบไปด้วยทราย  โคลน  และดิน  บริเวณที่ติดกับปากแม่น้ำเป็นดิน  ดินเหนียว  ถัดไปเป็นดินร่วนและบริเวณที่ลึกเข้าไปจะมีทรายมากขึ้น  นอกจากนี้  บริเวณต่าง ๆ ของป่าชายเลนยังแตกต่างในด้านของความเป็นกรด – เบส  ความเค็ม  รวมทั้งความสมบูรณ์ของดิน  ซึ่งวัดได้จากปริมาณของไนโตรเจน (N)  ฟอสฟอรัส (P)  โปแทสเซียม (K)
ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลน
     • พืช  ได้แก่  โกงกาง  แสมดำ  โปรงขาว  โปรงหนู  รังกะแท้  ชะคราม  ตะบูน  ตีนเป็ดทะเล  ตาตุ่มทะเล  ปรงทะเล  เทียนทะเล  ชลู  ลำพู  ลำแพน  ถั่วขาว  ผักเบี้ยทะเล
     • สัตว์ที่อยู่ตามหน้าดินตามชายเลน  ได้แก่  ปลาตีน  ปูเสฉวน  ปูแสม  ทากทะเล  หอยขี้นก  กุ้งดีดขัน  ปูก้ามดาบ
 • สัตว์ในดิน  ได้แก่  ไส้เดือนทะเล  หอยฝาเดียว

ระบบนิเวศป่าไม้
ความสำคัญ
     • แหล่งรวมพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าต่าง ๆ ช่วยกำบังลมพายุ
     • แหล่งต้นน้ำลำธาร  ทำให้ฝนตกตามฤดูกาล
     • ช่วยควบคุมอุณหภูมิบนโลก  ช่วยรักษาความชุ่มชื้นของผิวดินและอากาศ
     • ผลิตก๊าซออกซิเจน (O2)  และใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)  แหล่งสะสมปุ๋ยธรรมชาติ
     • ลดความรุนแรงของน้ำป่าและการพังทลายของหน้าดินที่เกิดจากกระแสน้ำไหลบ่า
ลักษณะของป่าไม้และสังคมสิ่งมีชีวิตในป่าของประเทศไทย  เช่น
     • ป่าพรุ (Freshwater swamp forest)  พบตามที่ลุ่มในภาคใต้  เป็นป่าที่มีน้ำจืดขังอยู่ตลอดปี  และน้ำมีความเป็นกรดสูง  ลักษณะของป่าแน่นทึบ  พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้ขนาดเล็ก  เช่น  หวาย  หมากแดง  เป็นต้น
     • ป่าสนเขา  (Coniferous Forest Biomes)  เป็นป่าเขียวตลอดปี  ประกอบด้วยพืชพรรณพวกที่มีใบเรียวเล็ก  เรียวยาวขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น  มียอดปกคลุมทึบตลอดปี  ไม่มีการผลัดใบ  แสงผ่านลงมาถึงพื้นดินน้อย  ดินเป็นกรด  ขาดธาตุอาหาร  สิ่งมีชีวิตที่พบ  เช่น  แมวป่า  หมาป่า  หมี  เม่น  กระรอกและนก
     • ป่าดิบชื้น  (Tropical Rain Forest Biomes)
เป็นป่าที่มีฝนตกตลอดปี  พืชเป็นพวกใบกว้างไม่ผลัดใบ  ปกคลุมหนา  มีอุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช  ประกอบด้วยไม้ยืนต้นนานาชนิด  พื้นดินมีต้นไม้ขึ้นกระจัดกระจาย  เพราะได้รับแสงไม่เพียงพอ  พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่  ไม้ยาง  ไม้ตะเคียน  บริเวณพื้นดินเป็นพวกเฟิร์น  หวาย  ไม้ไผ่และเถาวัลย์


โซ่อาหารและสายใยอาหาร
โซ่อาหาร หมายถึง  ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในเรื่องของการกินต่อกันเป็นทอด ๆ จากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค  ทำให้การถ่ายทอดพลังงานในอาหารต่อเนื่องเป็นลำดับจากการกินต่อกัน  ตัวอย่างเช่น
     1. Decomposition food chain  เป็นห่วงโซ่อาหารที่เริ่มต้นจากการย่อยสลายซากอินทรีย์โดยพวกจุลินทรีย์  ได้แก่  เห็ดรา  แบคทีเรีย  และ Detritivorous animails  เป็นระบบนิเวศที่มีสายใยอาหารของผู้ย่อยสลายมากกว่า  เช่น  ซากพืชซากสัตว์  ไส้เดือนดิน  นก  งู
     2. Parasitism food chain  เป็นห่วงโซ่อาหารที่เริ่มต้นจากภาวะปรสิต  ตัวอย่างเช่น  ไก่  ไรไก่  โปโตซัว  แบคทีเรีย
     3. Predation food chain  เป็นห่วงโซ่อาหารที่เป็นการกินกันของสัตว์ผู้ล่า (สัตว์กินพืช  สัตว์กินเนื้อ)  อาจเป็นพวกขุดกิน (Grazing food chain)  ซึ่งห่วงโซ่เริ่มต้นที่สัตว์พวกขูดกินอาหารแบบผสม  โดยมีการกินกันและมีปรสิต  เช่น  สาหร่ายสีเขียว  หอยขม  พยาธิใบไม้  นก

สายใยอาหาร
     ในระบบนิเวศหนึ่ง ๆ จะมีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตและมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน  ที่สำคัญคือการเป็นการทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานในโมเลกุลของอาหารต่อเนื่องเป็นลำดับจากพืช  ซึ่งเป็นผู้ผลิต (Producer)  สู่ผู้บริโภค (Herbivore)  ผู้บริโภคสัตว์ (Carnivore)  กลุ่มผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ (Omnivore)  และผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร (Decomposer)  ตามลำดับในห่วงโซ่อาหาร (Food Chain)  ในระบบนิเวศธรรมชาติระบบหนึ่ง ๆ จะมีห่วงโซ่อาหารสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อนหลายห่วงโซ่  เป็นสายใยอาหาร (Food Web)
     สปีชีส์  คือ  เป็นเหยื่อกับผู้ล่าเหยื่อ (Prey Predator Interaction)  ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่มีฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์และอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์
     ส่วนไลเคนส์เป็นสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด  คือ  รากับสาหร่ายสีเขียว  การอยู่ร่วมกันนี้ทั้งสาหร่ายและราต่างได้รับประโยชน์  กล่าวคือ  สาหร่ายสร้างอาหารเองได้แต่ต้องอาศัยความชื้นจากรา  ราก็ได้อาศัยอาหารที่สาหร่ายสร้างขึ้นและให้ความชื้นแก่สาหร่าย  ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกันชั่วคราวหรือตลอดไป  และต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ เรียกว่า  ภาวะที่พึ่งพากัน (Mutualism)  แบคทีเรีย  พวกไรโซเบียม (Rhizobium) ที่อาศัยอยู่ที่ปมรากพืชตระกูลถั่ว  โดยแบคทีเรียจับไนโตรเจนในอากาศ  แล้วเปลี่ยนเป็นสารประกอบไนเตรตที่พืชนำไปใช้  ส่วนแบคทีเรียก็ได้พลังงานจากการสลายสารอาหารที่มีอยู่ในรากพืช  นอกจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างซีแอนีโมนีกับปูเสสวน  มดดำกับเพลี้ยก็เป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพาฝ่ายหนึ่งได้รับ  เพื่ออาศัยความชื้นและแร่ธาตุบางอย่างจากเปลือกต้นไม้เท่านั้น  โดยต้นไม้ใหญ่ไม่เสียประโยชน์เรียกความสัมพันธ์เช่นนี้ว่า  ภาวะอ้างอิง (Commensalism)  ฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์และอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์  คือความสัมพันธ์ที่เรียกว่า ภาวะปรสิต (Parasitism)  เช่น  เห็บที่อาศัยที่ผิวหนังของสุนัข  สุนัขเป็นผู้ถูกอาศัย (Host)  ถูกเห็บสุนัขดูดเลือดจึงเป็นฝ่ายเสียประโยชน์  ส่วนเห็บซึ่งเป็นปรสิต (Parasite)  ได้รับประโยชน์คือได้อาหารจากเลือดของสุนัขภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ยังเป็นที่อาศัยของปรสิตหลายชนิด  เช่น  พยาธิใบไม้ในตับ  พยาธิไส้เดือน  พยาธิตัวตืดในทางเดินอาหาร  เป็นต้น
     กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ย่อยสลายอินทรียสาร  ได้แก่  แบคทีเรีย  เห็ด  ราจะสร้างสารออกมาย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตบางส่วนของสารที่ย่อยแล้ว  จะถูกดูดกลับไปใช้ในการดำรงชีวิตด้วยกระบวนการดังกล่าว  ทำให้ซากสิ่งมีชีวิตเน่าเปื่อยย่อยสลายเป็นอินทรียสารกลับคืนสู่สิ่งแวดล้อม  ความสัมพันธ์แบบนี้เรียกว่า  ภาวะมีการย่อยสลาย (Saprophytism)

ระบบนิเวศป่าพรุ

ป่าพรุ (Swamp forest) เป็นลักษณะหนึ่งของพื้นที่ชุ่มน้ำ ขึ้นอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมขังตลอดปีดินส่วนใหญ่ เป็นดินอินทรีย์ วัตถุที่เกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ รับน้ำจากน้ำฝนเป็นส่วนใหญ่ ไม่ มีการระบายน้ำตามธรรมชาติอย่าง ต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
สภาพแวดล้อมในระบบนิเวศป่าพรุ
ลักษณะดินในป่าพรุ1. ดินในป่าพรุ
ดินที่พบในป่าพรุส่วนใหญ่เป็นดินอินทรีย ์ที่เกิดจากการทับถมของซากพืชที่ร่วงหล่นลงมาและยังไม่สลายตัว เนื่องจากพื้นที่พรุส่วนใหญ่มีน้ำท่วมขังทำให้การย่อยสลายเป็นไปอย่างช้าๆ ความหนาของชั้นดินมีความหนาแตกต่างกัน ขึ้นกับระยะเวลาการสะสมของชั้นอินทรียวัตถุ และปัจจัยเสี่ยงที่จะถูกทำลาย เช่น ไฟป่า เป็นต้น หากชั้นดินอินทรีย์นี้ถูกเผาทำลายโดยไฟป่าอย่างซ้ำซาก ชั้นดินอินทรีย์ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีจะถูกเผาไหม้จนหมดไป เหลือเฉพาะดินชั้นล่างที่เป็นชั้นดินโคลน ซึ่งมีสารไพไรต์ (FeS2) เมื่อเปิดหน้าดินอินทรีย์ออก ทำให้ออกซิเจนมีโอกาสทำปฏิกิริยาออกซิเดชัน กับสารไพไรต์ให้สารประกอบซัลเฟต และกรดกำมะถัน ซึ่งเมื่อถูกชะล้าง ทำให้ดินในจุดนั้นจะกลายเป็นดินกรดกำมะถัน (acid sulphate soil) ซึ่งเป็นดินกรดที่ไม่เหมาะสำหรับทำการเกษตร
ในประเทศไทย พบว่า ชั้นของดินอินทรีย์มีความหนาสูงสุดเพียง 3.8 เมตร สมบัติของดินอินทรีย์ในป่าพรุพบว่าเป็นดินที่มีความหนาแน่นรวมต่ำมาก คือ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.1-0.2 กรัม/มิลลิลิตร ซึ่งดินทั่วไปมีค่าอยู่ระหว่าง 1.3-1.6 กรัม/มิลลิลิตร ดังนั้นพรุจึงเป็นดินที่ไม่เหมาะสำหรับการทำเกษตรกรรม สีของดินพรุมีสีแตกต่างกันตามชั้นของความลึก คือ มีสีน้ำตาลเข้ม ถึงดำเป็นดินที่มีความเป็นกรดจัด คือ มีค่าความเป็นกรด-เป็นด่าง (pH) ประมาณ 4.4 ในดินชั้นบน และ 4.2 ในดินชั้นล่าง
2. น้ำในป่าพรุ
น้ำในป่าพรุมีสมบัติทางกายภาพและเคมีแตกต่างไปจากน้ำจืดในแหล่งน้ำอื่นทั่วไป เนื่องจากภูมิประเทศของพรุ เป็นที่ลุ่มต่ำใกล้ชายฝั่งทะเล จึงทำให้มีน้ำท่วมขังพื้นดินตลอดปีหรือเกือบตลอดปี น้ำที่ท่วมขังจะมีการไหลอย่างช้าๆ สีของน้ำพรุเป็นสีน้ำตาลซึ่งเป็นน้ำฝาดที่ได้จากการสลายตัวของซากพืชและอินทรียวัตถุ
น้ำในป่าพรุนับว่ามีบทบาทสำคัญยิ่งที่กำหนดการอยู่รอดหรือการคงอยู่ของป่าพรุ เพราะอิทธิพลของน้ำทั้งในด้านปริมาณ คือ ระดับการท่วมขังของน้ำ และในแง่ของคุณภาพน้ำ มีผลอย่างมากต่อการอยู่รอด และการเจริญเติบโตของต้นไม้ เนื่องจากต้นไม้เป็นผู้ผลิตขั้นต้นของป่าพรุแห่งนี้ ดังนั้น การอยู่รอดของต้นไม้ย่อมส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นในป่าพรุต่อไป กล่าวคือ ถ้าระดับการท่วมขังของน้ำอยู่สูงเกินกว่าระดับรากหายใจที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ ย่อมมีผลต่อกระบวนการหายใจและการแลกเปลี่ยนก๊าซของพืช แต่ถ้าหากระดับน้ำอยู่ในระดับต่ำเกินไปจะทำให้ดินอินทรีย์แห้งเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า ในป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส ได้มีการดัดแปลงท่อพีวีซีเป็นเครื่องวัดระดับน้ำ ได้ทำการวัดนานต่อเนื่องกันมา 4 ปี พบว่า โดยทั่วไปแล้วระดับน้ำในป่าพรุท่วมขังอยู่เหนือผิวดินโดยเฉลี่ย 20-25 เซนติเมตร ยกเว้นบางเดือนที่ฝนตกหนักระดับน้ำที่ท่วมขังจะสูงขึ้น โดยจะสูงสุดในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ส่วนในฤดูแล้งระดับน้ำในป่าพรุจะลดต่ำลง ระดับน้ำที่ลดลงต่ำกว่าผิวดินนี้จะเป็นดัชนีสำคัญใช้บ่งชี้ถึงความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการป้องกันและเตรียมพร้อมในการดับไฟป่า
สำหรับคุณภาพของน้ำในป่าพรุเสื่อมโทรมพบว่ามีความเข้มข้นของสารประกอบฟีนอลิก (phenolic compound) สูงกว่าน้ำในป่าพรุดั้งเดิม สำหรับคุณสมบัติอื่นๆ ของน้ำในป่าพรุเสื่อมโทรม เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำในป่าพรุสมบูรณ์ พบว่าในป่าพรุเสื่อมโทรม มีอุณหภูมิ ความเป็นกรด และสภาพการนำไฟฟ้าสูงขึ้น มีเพียงปริมาณของออกซิเจนที่ละลายในน้ำเพิ่มขึ้นเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ทำให้คุณภาพของน้ำดีขึ้น การที่ปริมาณของออกซิเจนเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากน้ำในป่าพรุเสื่อมโทรมไหลแรงขึ้น จากการตรวจวัดค่า pH ของน้ำในป่าพรุพบว่าส่วนใหญ่มีค่าอยู่ระหว่าง 5.1-6.4 ดังนั้น น้ำในป่าพรุจึงสามารถนำมาใช้ในการกสิกรรมและเลี้ยงสัตว์ได้
ระบบนิเวศป่าพรุ

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบนิเวศทะเล

ระบบนิเวศทะเลและชายฝั่ง
         ระบบนิเวศในทะเล หมายถึง หน่วยความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่แหล่งใดแหล่งหนึ่งในทะเลซึ่งความสัมพันธ์นี้จะมี 2 ลักษณะ ลักษณะแรกเป็นความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตที่อยู่ในบริเวณนั้น และในขณะเดียวกันก็จะมีความสัมพันธ์อีกลักษณะหนึ่ง คือ ความเกี่ยวโยงกันหรือส่งผลต่อกันระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง ซึ่งความสัมพันธ์ทั้งสองลักษณะดังกล่าวจะเกิดขึ้นพร้อมๆกัน และมีอยู่ในระบบนิเวศต่างๆที่พบในทะเล

                                                
จังหวัดนครศรีธรรมราชมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะลซึ่งสามารถแบ่งเป็นระบบนิเวศทางทะเลต่างๆได้แก่
       1. ระบบนิเวศน้ำกร่อย (Estuarine ecology)
บริเวณปากแม่น้ำที่น้ำจืดและน้ำทะเลไหลมาพบกันนั้นเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นบริเวณน้ำกร่อย  ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Estuary ราชบัณฑิต ได้บัญญัติศัพท์ภาษาไทยว่า “ชะวากทะเล” Estuary นั้นมีคำจำกัดความโดย Pritchard  (1967) ว่าเป็นบริเวณทะเลชายฝั่งกึ่งปิดมีช่องทางติดต่อกับทะเลเปิด และได้รับอิทธิพลจากการขึ้นลงของน้ำทะเลโดยตรง เช่นเดียวกับที่มีการผสมผสานของน้ำทะเลในบริเวณนั้น โดยน้ำจืดที่ถูกพัดมาจากแผ่นดิน บริเวณน้ำกร่อยจัดได้ว่าเป็น Ecotone ที่เชื่อมโยงระหว่างระบบนิเวศน้ำจืด และระบบนิเวศทางทะเล และเป็นระบบนิเวศที่มีคุณลักษณะทั้งทางด้านเคมี สภาวะ และทรัพยากรชีวภาพที่ค่อนข้างจะเฉพาะตัว จัดเป็นระบบนิเวศชายฝั่งที่สำคัญมากระบบหนึ่ง
         โดยทั่วไปแล้วสิ่งมีชีวิตในบริเวณน้ำกร่อย เป็นสิ่งมีชีวิตที่พบได้เฉพาะบริเวณนี้เท่านั้น  และมีบางชนิดที่พบได้ในทะเลเปิด แต่อาจมีเพียงไม่กี่ชนิดของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดสามารถเจริญเติบโตในน้ำกร่อยได้ สำหรับสัตว์ทะเลชายฝั่งบริเวณน้ำกร่อยจัดเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนที่สำคัญเพราะมีความอุดมสมบูรณ์ของอาหารและใช้เป็นที่หลบซ่อนภัยจากศัตรู สัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิดมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยนี้ อาทิเช่น ได้แก่ กุ้ง ปู และหอยนางรม โดยเหตุที่สัตว์ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิดนั้นต้องพึ่งพาบริเวณน้ำกร่อยในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิตในขณะเดียวกับที่นี้บริเวณที่ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมต่างๆ และมลภาวะจากชายฝั่ง ดังนั้น ระบบนิเวศน้ำกร่อยนี้จึงถูกจัดเป็นแหล่งอาศัยที่วิกฤติ (Critical habitat) ที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน้ำกร่อยนั้นสูงกว่าผลผลิตในทะเล และบริเวณแม่น้ำด้วยเหตุผลดังนี้...