วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554



ระบบนิเวศ


                การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตจะมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อมอาจเป็นความสัมพันธ์ทางบวกหรือทางลบ จะเห็นได้ว่าไม่มีสิ่งมีชีวิตชนิดใดสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยลำพังโดยไม่ต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อม ดังนั้นถ้าสิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในสิ่งแวดล้อมนั้นด้วย  เช่น  การดำรงชีวิตของพืช  สัตว์ และสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำอื่นๆ จะต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันและมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต เช่น แร่ธาตุ แสงแดด มีการใช้พลังงานและแลกเปลี่ยนสารอาหารซึ่งกันและกันเป็นวัฏจักรที่ดำเนินไปเป็นระบบภายใต้ความสมดุลของธรรมชาติ ดังนั้นหากระบบมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นและส่งผลกระทบเกี่ยวเนื่องไปทั้งระบบ และทำให้เกิดปัญหากับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ระบบดังกล่าวเรียกว่าระบบนิเวศซึ่งหมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตทั้งหมดกับสิ่งแวดล้อมที่ดำรงอยู่

นิยามและความหมาย
                ระบบนิเวศ หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในหน่วยพื้นที่หนึ่ง
                จากข้อความดังกล่าวประกอบด้วยประเด็นสำคัญ  4  ประเด็น  คือ
                1. หน่วยพื้นที่ หมายถึง ระบบนิเวศจะถูกจำกัดขอบเขตหรือขนาด  ดังนั้นจะเล็กหรือใหญ่อย่างไรก็ได้  แต่ขอให้มีอาณาบริเวณอย่างเด่นชัด  เช่น  สระน้ำ  อ่างเก็บน้ำ  ป่าไม้  เมือง   ชนบท  เป็นต้น
                2. สิ่งมีชีวิต หมายถึง องค์ประกอบหรือโครงสร้างทั้งหมดที่เป็นสิ่งมีชีวิตภายในหน่วยพื้นที่นั้น
                3. สิ่งแวดล้อม หมายถึง องค์ประกอบทั้งหลายในหน่วยพื้นที่นั้น  ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ต้นไม้  สัตว์  ดิน  น้ำ  อากาศ  สารอาหาร เป็นต้น
                4. ระบบความสัมพันธ์  หมายถึง  ระบบความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตหนึ่งกับสิ่งไม่มีชีวิตและสิ่งมีชีวิตอื่นในหน่วยพื้นที่นั้น  นั่นคือสิ่งต่าง ๆ ภายในพื้นที่นั้นต่างก็มีบทบาทและหน้าที่ของตนเองอย่างชัดเจน  ทำให้สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่จะอยู่ร่วมกันได้  ระบบความสัมพันธ์นี้จะมีกฏเกณฑ์ที่แน่นอนจนสุดท้ายก็จะแสดงเอกลักษณ์ของระบบนั้น ๆ  เช่น ระบบนิเวศลำน้ำน่าน    ระบบนิเวศป่าดิบเขา  ระบบนิเวศหนองน้ำ  เป็นต้น
                ระบบนิเวศหนึ่งๆ เป็นระบบนิเวศ ระบบเปิด เพราะมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอื่นนอกหน่วยพื้นที่ของตนเอง  มีการได้สสาร  พลังงาน แร่ธาตุ  ตลอดจนสิ่งมีชีวิตจากที่อื่นเข้าไปในระบบ  และขณะเดียวกันต้องมีการนำสิ่งเหล่านี้ออกไปจากระบบ  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น ระบบนิเวศหนองน้ำได้สารอาหารมาจากการที่น้ำฝนชะล้างเศษดิน ซากพืชหรือซากสัตว์ไหลลงสู่หนองน้ำนั้น  ขณะเดียวกันก็สูญเสียสารอาหารไปจากระบบอาจจะเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำออกไปตายที่อื่น  สัตว์น้ำถูกจับเป็นอาหารของสัตว์อื่น เช่น นก  มนุษย์ เสือปลา  เป็นต้น  
ระบบนิเวศนบนโลกนี้มีความหลากหลายตามตำแหน่งที่ตั้งซึ่งมีองค์ประกอบทางกายภาพแตกต่างกันออกไปมากมาย เช่น ระบบนิเวศป่าดิบร้อน ระบบนิเวศป่าสน ระบบนิเวศป่ามรสุม ระบบนิเวศ ระบบนิเวศทุ่งน้ำแข็ง ระบบนิเวศทุ่งหญ้าเขตร้อน ระบบนิเวศป่าชายเลน ระบบนิเวศหนองน้ำ ระบบนิเวศน้ำกร่อย ระบบนิเวศน้ำเค็ม ระบบนิเวศชายฝั่ง เป็นต้น  บนโลกนี้เมื่อรวมกันทั้งหมดทุกระบบนิเวศก็จะเป็นระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุดคือ ระบบนิเวศโลก นั่นเอง เรียกว่า  ชีวาลัยหรือชีวมณฑล  (Biosphere หรือ Ecosphere) 

โครงสร้างหรือองค์ประกอบของระบบนิเวศ
                แม้ว่าระบบนิเวศบนโลกจะมีความหลากหลาย    แต่โครงสร้างหรือองค์ประกอบภายในระบบนิเวศ  แต่ละชนิดจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ  2  ส่วน  คือ
                1.  องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต  (Abiotic Components)   จำแนกได้เป็น  3  ส่วน  คือ
                     1.1  อนินทรียสาร  (Inorganic Substance)  เช่น  คาร์บอน  คาร์บอนไดออกไซด์ ฟอสฟอรัส  ไนโตรเจน  น้ำ  ออกซิเจน  ฯลฯ 
                     1.2  อินทรียสาร  (Organic Substance)  เช่น  คาร์โบไฮเดรต  โปรตีน  ไขมัน ฮิวมัส  ฯลฯ
     1.3  สภาพแวดล้อมทางกายภาพ  (Physical Environment)  เช่น  แสง  อุณหภูมิ อากาศ ความชื้น ความเป็นกรดด่าง    ฯลฯ
                2.  องค์ประกอบที่มีชีวิต (Biotic Components) ได้แก่ สิ่งมีชีวิตทุกชนิด จำแนกตามหน้าที่ได้ 3 ชนิด คือ
                     2.1 ผู้ผลิต (Producer) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เอง โดยกระบวนการสังเคราะห์แสง  (Photosynthesis) ได้แก่ พืชสีเขียว แพลงตอนพืช แบคทีเรียบางชนิด ฯลฯ  สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะมีรงควัตถุสีเขียว  คือ  คลอโรฟิลล์ เพื่อรับพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ร่วมกับคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี เกิดเป็นสารประกอบคาร์โบไฮเดรตขึ้น ดังสมการ 



            
 พวกผู้ผลิตจัดว่ามีความสำคัญมากเพราะเป็นส่วนที่เริ่มต้นเชื่อมต่อระหว่างส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิตและส่วนประกอบที่มีชีวิตอื่นๆในระบบนิเวศ โดยการสร้างและสะสมอาหารขึ้นมาจากแร่ธาตุและสารประกอบโมเลกุลเล็ก  รวมทั้งพลังงานจากแสงอาทิตย์ซึ่งสิ่งมีชีวิตพวกอื่น ๆ ในระบบนิเวศไม่สามารถใช้สิ่งเหล่านี้ได้โดยตรงในการเจริญเติบโต
                     2.2  ผู้บริโภค (Consumer) หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารรถสร้างอาหารเองได้ แต่ได้รับอาหารจากการกินสิ่งมีชีวิตอื่น  สิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทเป็นผู้บริโภค  คือ  พวกสัตว์ต่าง ๆ จำแนกเป็น  3  ชนิด  ตามลำดับขั้นการบริโภค  คือ
                                2.2.1  ผู้บริโภคปฐมภูมิ (Primary Consumer)  เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินพืชเป็นอาหารอย่างเดียว  เรียกว่า ผู้บริโภคพืช  (Herbivores)  ได้แก่  กระต่าย  วัว  ควาย  ช้าง  ม้า  ปลาที่กินพืชเล็ก ๆ  ฯลฯ
                            2.2.2  ผู้บริโภคทุติยภูมิ  (Secondary Consumer)  เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินสัตว์ด้วยกันเป็นอาหาร  Carnivores)  เช่น  งู  เสือ  นกฮูก  นกเค้าแมว  จรเข้  ฯลฯ
                            2.2.3  ผู้บริโภคตติยภูมิ  (Tertiary Consumer)  ได้แก่  สิ่งมีชีวิตที่กินทั้งพืช และสัตว์เป็นอาหาร  เรียกว่า  Omnivore  เช่น  คน  หมู  สุนัข  ฯลฯ
            นอกจากนี้ยังอาจมีผู้บริโภคอันดับต่อไปได้อีกตามลำดับขั้นของการบริโภค ผู้บริโภคขั้นสุดท้ายเรียก  ผู้บริโภคขั้นสูงสุด (Top Consumer)  หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระดับขั้นการกินสูงสุด ซึ่งก็คือสัตว์ที่ไม่ถูกกินโดยสัตว์อื่น ๆ ต่อไป เป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสุดท้ายของการถูกกินเป็นอาหาร เช่น มนุษย์ เป็นต้น
                3.  ผู้ย่อยสลาย  (Decomposer)  หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้  แต่จะได้อาหารโดยการสร้างเอนไซม์ออกมาย่อยสลายซากของสิ่งมีชีวิต ของเสีย กากอาหาร ให้เป็นสารที่มีโมเลกุลเล็กลงแล้วจึงดูดซึมไปใช้บางส่วน  ส่วนที่เหลือจะปล่อยออกสู่ระบบนิเวศ ซึ่งผู้ผลิตสามารถนำไปใช้สร้างอาหารต่อไป  สิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทเป็นผู้ย่อยสลายส่วนใหญ่  ได้แก่ แบคทีเรีย เห็ด  รา ฯลฯ สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญอย่างมากในระบบนิเวศเพราะทำให้เกิดการหมุนเวียนของสาร
 
1. ระบบนิเวศบนบก (Terrestrial Ecosystems)  เป็นระบบนิเวศที่ปรากฏอยู่บนพื้นดินซึ่งแตกต่างกันไปโดยใช้ลักษณะเด่นของพืชเป็นหลักแบ่ง  ซึ่งขึ้นกับปัจจัยสำคัญ  2  ประการ คือ อุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน  ทำให้พืชพรรณต่างๆ แตกต่างกัน   ระบบนิเวศบนบกนั้นพอแบ่งออกได้ดังนี้
                 1.1 ระบบนิเวศป่าไม้  (Forest Ecosystem)  เป็นระบบนิเวศที่พื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมไปด้วยป่าไม้  สามารถแบ่งย่อยออกไปได้ดังนี้
1) ระบบนิเวศป่าไม้เขตร้อน  ได้แก่ ระบบนิเวศป่าเบญจพรรณ  ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา  เป็นต้น
2) ระบบนิเวศป่าไม้เขตอบอุ่น  ได้แก่ ระบบนิเวศป่าผลัดใบเขตอบอุ่น  ป่าเมดิเตอร์เรเนียน
3) ระบบนิเวศป่าไม้เขตหนาว ได้แก่ระบบนิเวศป่าสน
4)  ระบบนิเวศป่าชายฝั่ง (ป่าชายเลน  ป่าชายหาด  ป่าโขดหิน)
                1.2 ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้า (Grassland Ecosystem)  เป็นระบบนิเวศที่มีพืชตระกูลหญ้าเป็นพืชเด่น  แบ่งได้ดังนี้
 1) ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้าเขตร้อน  ได้แก่ ระบบนิเวศทุ่งหญ้าซาวันนา  โดยมีทุ่งหญ้าที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลกที่รูจักกันในนามทุ่งหญ้าซาฟารี
2) ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น  ได้แก่ ระบบนิเวศทุ่งหญ้าแพรรี่, ทุ่งหญ้าสเตปป์
3) ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้าเขตหนาว  ทุ่งหญ้าทุนดรา
                1.3  ระบบนิเวศน์ทะเลทราย (Desert Ecosystem)    เป็นพื้นที่ที่มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าปริมาณการระเหยน้ำ  แต่บางพื้นที่อาจมีฝนตกบ้างเล็กน้อยก็จะมีหญ้าเขตแห้งแล้งงอกงามได้  ได้แก่
1) ระบบนิเวศน์ทะเลทรายเขตร้อน   ทะเลทรายเขตอบอุ่น
2) ระบบนิเวศนทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายเขตร้อน ทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายเขตร้อน
ป่าชายเลนมีบทบาทสำคัญ ที่เป็นส่วนเชื่อมของระบบนิเวศบนบก และระบบนิเวศทางทะเล โดยป่าชายเลนทำหน้าที่หลักที่สำคัญสองประการ ในส่วนที่ควบคุมปฏิสัมพันธ์ภายใต้กระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในทะเล ในแม่น้ำ และบนบก คือ
1. ป่าชายเลนทำหน้าที่ในการดักตะกอน ที่ถูกพัดพามากับน้ำจืด ในการถูกพัดพาออกสู่ทะเลให้น้อยลง ช่วยลดผลกระทบต่อการสังเคราะห์แสงของพืช และผลผลิตทางการประมง
2. ป่าชายเลนทำหน้าที่ในการส่งถ่ายธาตุอาหารและอินทรีย์สารจากบริเวณป่าชายเลน ออกสู่น้ำทะเลชายฝั่งบริเวณใกล้เคียง เป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่บริเวณชายฝั่งด้วย
การที่ป่าชายเลนขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลและปากแม่น้ำต่างๆ ช่วยลดความเร่งของกระแสน้ำทำให้มีตะกอนทับถมในลักษณะของแผ่นดินงอก อาจกล่าวได้ว่า ป่าลายเลนช่วยเพิ่มพื้นที่ (land builder) พร้อมกันนี้ป่าชายเลนยังทำหน้าที่ดักกรองสารมลพิษ และสารปฏิกูลต่างๆ จากบนบก ไม่ให้ลงสู่ทะเล (pollution trap) ป่าชายเลนยังทำหน้าที่เป็นแนวป้องกันคลื่นลมจากทะเล ช่วยลดความรุนแรงของพายุได้อีกด้วย
คุณค่าของป่าชายเลน นอกเหนือจากการใช้ประโยชน์จากไม้ชายเลนเพื่อการเผาถ่าน และการใช้ประโยชน์ในรูปอื่นๆ ที่สำคัญคือ ป่าชายเลนเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์หลายชนิด ทั้งที่เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ และปลาที่สำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิด ป่าชายเลนยังเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งวางไข่ และอนุบาลตัวอ่อน
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริเวณป่าชายเลนอุดมสมบูรณ์ ด้วยพืชและสัตว์นานาชนิด คือ ความอุดมสมบูรณ์ของอาหาร มีการแบ่งสรรสารอาหารและพลังงานที่ลงตัวในกลุ่มพืชและสัตว์ บริเวณป่าชายเลนมีความหลากหลายในรูปของแหล่งที่อยู่อาศัยทำให้สัตว์ต้องมีการปรับตัวเฉพาะเพื่ออยู่อาศัย หรือเพื่อหาอาหารได้ร่วมกันโดยไม่แก่งแย่งกัน ถ้าความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนยังคงสภาพอยู่ ก็ย่อมส่งผลถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำด้วย
การศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลน จะต้องศึกษาในรายละเอียดของชนิดพรรณไม้ การแพร่กระจาย การแบ่งเขต (zonation) ลักษณะทางกายภาพของดิน สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ดิน คุณภาพของน้ำทะเล สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในมวลน้ำ รูปแบบของนำขึ้น-น้ำลง ตลอดจนกระบวนการทางนิเวศวิทยาที่เกี่ยวข้อง เช่น การหมุนเวียนของธาตุอาหาร การย่อยสลายสารอินทรีย์ การอพยพของสัตว์น้ำ เป็นต้น
  ระบบนิเวศในน้ำเค็ม

          
     เป็นแหล่งรวมที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตแบบต่างๆเช่น
        - ระบบนิเวศหาดหิน (rocky shore) ประกอบด้วยชายฝั่งทะเล ซึ่งมีทั้งหาดทรายและหาดหิน      เป็นบริเวณที่จะถูกน้ำทะเลซัดขึ้นมาตลอดเวลา   ฉะนั้นสัตว์ที่อาศัยบริเวณนี้ต้องคงทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ     ได้แก่ แมลงสาบทะเล (ligio) หอยนางรม      ลิ่มทะเล หอยหมวกเจ๊ก (limpets) เพรียงหิน เม่นทะเล ดอกไม้ทะเล     สาหร่ายสีแดง
       -นิเวศหาดทราย (sandy beach) สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระบบนี้ต้องมีการปรับตัวมาก      เพราะคลื่นซัดทรายในสภาพที่รุนแรง เช่น ปูลม เคลื่อนที่ได้รวดเร็ว และมีเหงือกใหญ่ชุ่มชื้นอยู่เสมอ      ทนความแห้งแล้งได้ดี นอกจากนี้ยังมีพวกหอยเสียบ หอยทับทิม ชอบฝังตัวหรือขุดรูอยู่ในทราย
     ระบบนิเวศบริเวณไหล่ทวีป ทะเล มหาสมุทร เป็นแหล่งที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบด้วย      แพลงตอนพืช สัตว์นานาชนิด หญ้าทะเล สาหร่าย กุ้ง หอย ปู ปลา พะยูน โบมา ฯลฯ      โดยสิ่งมีชีวิตดังกล่าวอาศัยเป็นแหล่งอาหารในการเจริญเติบโต ทั้งทะเล และมหาสมุทร      นับเป็นแหล่งอาหารแหล่งใหญ่ที่สุดของสิ่งมีชีวิต
        -ระบบนิเวศแนวปะการัง (coral reef) หรืออุทยานใต้ทะเล      ปะการังสืบพันธุ์ด้วยการแตกหน่อเชื่อมติดกันมีสารหินปูนห่อหุ้มลำตัว กลุ่มก้อนปะการังที่สวยงามมาก ได้แก่      ปะการังเขากวาง ปะการังสมอง ปะการังเห็ด ปะการังต้นไม้ ฯลฯ พบที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา      หมู่เกาะพีพี หมู่เกาะลันตา จ. กระบี่ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง และที่อื่น ๆ อีกมาก      ระบบนิเวศแนวปะการังเป็นแหล่งที่ให้ความอุดมสมบูรณ์ทางด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย แหล่งอนุบาล      ตัวอ่อนของสัตว์น้ำแต่ละชนิด เป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายและให้ผลผลิตสูงมากในทะเล
        - ระบบนิเวศป่าชายเลน (mangrove forest) ประเทศไทยมีป่าชายเลนหลายแหล่ง      แถบจังหวัดชายทะเลในภาคใต้ และภาคตะวันออกเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน้ำกร่อย      มีสภาพแวดล้อมต่างจากป่าบกทั้งสภาพดิน ความเป็นกรด-เบส (pH) ความสมบูรณ์ของดิน (N,P,K)      ทำให้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลนต้องปรับตัวให้ดำรงชีพอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน      ในแต่ละช่วงวัน
         กลุ่มพืชในป่าชายเลนได้แก่ แสม โกงกาง ลำพู มีรากค้ำจุนช่วยในการพยุงลำต้น มีรากหายใจโผล่พ้นดินขึ้นมา      พืชพวกนี้มีใบหนา บางชนิดใบมีขนปกคลุม ใบมีลักษณะอวบน้ำ เพราะมีเนื้อเยื่อกักเก็บน้ำในใบ      และที่สำคัญไม่เหมือนพืชอื่น ๆ คือ ผลของพืชพวกนี้มีเมล็ด ซึ่งงอกตั้งแต่อยู่บนต้นแม่      เมื่อหล่นลงสู่พื้นชายเลนก็จะเจริญได้ทันที เพราะผลเรียวยาวเสียบลงในเลนและตั้งเป็นต้น
     สัตว์ที่อาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลนมีทั้งสัตว์หน้าดิน ได้แก่ หอย ปู ปลาตีน ฯลฯ สัตว์ในดิน และนกจำนวนมาก          ป่าชายเลนเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์อ่อนของสัตว์น้ำ ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศในทะเลมากที่สุด      เพราะเป็นแหล่งที่ตัวอ่อนของสัตว์น้ำพวก กุ้ง หอย ปู ปลา เข้ามาอาศัยร่มเงาและหาอาหาร
     ในด้านนิเวศวิทยา ป่าชายเลนจัดว่าเป็นบริเวณที่มีผลผลิตทางชีวภาพสูง มีสัตว์นานาชนิด      มีพันธุ์ไม้ที่เป็นพืชสมุนไพร ไม้โกงกางใช้เป็นเชื้อเพลิงที่ให้พลังงานสูงมาก      ป่าชายเลนทำให้แผ่นดินงอกเป็นฉากกำบังลม ป้องกันการพังทลายของชายฝั่งรากช่วยกรองกสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ      ในน้ำลดความเน่าเสียของน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นสถานศึกษาหาความรู้และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อยใจ      ปัจจุบันป่าชายเลนมีพื้นที่เหลือไม่ถึง 1,128,494 ไร่เท่านั้น จากที่เคยมีอยู่ถึง 2,229,375      ไร่ชั่วระยะเวลาจากการสำรวจ เมื่อปี พ.ศ. 2504 ถึงปีพ.ศ. 2532